Severe fever with thrombocytopenia syndrome


ในปลายเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยหญิงชาวญี่ปุ่นอายุ 51 ปีเสียชีวิตจากการติดเชื้อที่มีเห็บแมวเป็นพาหะ สาเหตุของการเสียชีวิตในผู้ป่วยรายนี้เกิดจากโรค severe fever with thrombocytopenia syndrome (SFTS)

โรค SFTS เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ severe fever with thrombocytopenia syndrome virus (SFTSV) เป็นเชื้อไวรัสใหม่ ชนิด RNA อยู่ใน genus phlebovirus, family Bunyaviridae1


ระบาดวิทยา

การติดเชื้อ SFTSV พบมากใน 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อุบัติการณ์การเกิดโรคสูงสุดในประเทศจีน คือ 0.12 – 0.73 ต่อแสนประชากร2 รองลงมาคือ เกาหลีใต้ (0.07 ต่อแสนประชากร)3 และญี่ปุ่น (0.05 ต่อแสนประชากร)4 ตามลำดับ ยังไม่มีรายงานโรคนี้ในประเทศไทย

ผู้ป่วยติดเชื้อ SFTSV พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 ที่มณฑลอานฮุน ประเทศจีน5 หลังจากนั้นก็มีการระบาดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552 พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อดังกล่าวทั้งหมด 171 ราย ระบาดไปทั่วทั้ง 6 มณฑล ได้แก่ มณฑลเหลียวหนิง ซานตง เหอหนาน อานฮุน เจียงซู และหูเป่ย์6 ต่อมาก็มีการระบาดอย่างต่อเนื่องทุกปีในพื้นที่ทางตอนกลางและตะวันออกของประเทศ (รูปที่ 1) ในช่วงปี พ.ศ.2556 - 2559 พบผู้ป่วยถึง 7,419 ราย เสียชีวิต 355 ราย อัตราการตายเฉลี่ยร้อยละ 5.35

Capture_1.JPG
รูปที่ 1  แสดงจำนวนผู้ป่วยโรค SFTS จำแนกตามมณฑลในประเทศจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 - 25595

เดือนที่มีการระบาดของโรคจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน พบสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคม
ระยะฟักตัวของโรคคือ 7 - 14 วัน5

การติดต่อของโรค1,5

เชื้อ SFTSV ติดต่อโดยมีเห็บ (tick) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีประวัติถูกเห็บกัดก่อนเกิดอาการ และ สามารถตรวจพบเชื้อ SFTSV จากเห็บ และจากสัตว์ที่อยู่บริเวณที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย เชื้อชนิดนี้มีวงจรการติดต่อแบบ enzootic tick - vertebrate - tick cycle มีการวนเวียนของเชื้อระหว่างเห็บและสัตว์ที่เป็นรังโรค ชนิดของเห็บที่เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญคือ H. longicornis ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรค ได้แก่ แพะ แกะ หมู วัว ควาย สุนัข ไก่ นกบางชนิด หนู และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานการก่อโรคในสัตว์ 

การติดต่อจากคนสู่คนยังไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่มีการรายงานการเกิดโรคในครอบครัวเดียวกัน และมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยก่อนเกิดอาการของโรค7-9


ลักษณะอาการทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตารางที่ 1)1,10

การดำเนินโรคมีทั้งหมด 3 ระยะ1 คือ 

  1. ระยะไข้ (fever stage) 
  2. ระยะ multiple organ failure 
  3. ระยะฟื้นตัว (convalescence)


ระยะไข้ (fever stage) 

ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง (5 - 11 วัน) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะพบเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ และมีระดับไวรัส (viral load) สูง 


ระยะ multiple organ failure

ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ของโรค โดยมีระยะเวลาทั้งหมด 7 - 14 วัน ในระยะนี้จะพบมี multiple organ failure ได้แก่ ตับ หัวใจ ปอด และไตมีอาการเลือดออก อาการผิดปกติทางระบบประสาท และพบภาวะ disseminated intravascular coagulation 

ความผิดปกติทางระบบประสาทที่พบ ได้แก่ acute confusion, generalized tonic-clonic convulsion, focal convulsion, status epilepticus, tremor, acute flaccid paralysis, encephalitis (ตารางที่ 2)10

ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่พบ ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง มีค่า serum amylase สูงซึ่งบ่งบอกถึงภาวะ acute pancreatitis และมี liver involvement ซึ่งจะมีค่า alanine aminotransferase (ALT) และ conjugated bilirubin ขึ้นสูง10

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีระดับไวรัสสูงต่อเนื่อง ระดับค่า biomarkers ต่างๆ จะสูงกว่าในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่ ALT, creatinine kinase, lactate dehydrogenase และ creatine kinase MB fraction และมีค่าเกล็ดเลือดต่ำต่อเนื่อง 


ระยะฟื้นตัว (convalescence)

ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 - 19 ของโรค โดยอาการจะดีขึ้นเป็นลำดับ ค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่ผิดปกติจะเริ่มดีขึ้นในระยะนี้ ส่วนค่า biomarkers ต่างๆ จะกลับสู่ค่าปกติอาศัยระยะเวลาประมาณ 3 - 4 สัปดาห์


ตารางที่ 1  ลักษณะทางคลินิกของโรค SFTS (ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิงที่ 1)

อาการและอาการแสดง

จำนวน/จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด

ร้อยละ

ไข้

609/614

99

ปวดกล้ามเนื้อ

274/337

81

อาเจียน

308/588

52

ถ่ายเหลว

279/607

46

ไอ

165/572

29

Lymphadenopathy

166/331

50

Arthralgia

80/328

24

Confusion

24/93

26

Sputum production

123/ 503

24

Conjunctival congestion

10/90

10

Petechiae/skin rash

30/328

9

Coma

4/69

6

Slurred speech

4/69

6



ตารางที่ 2
 ความผิดปกติของระบบประสาทของโรค SFTS (ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิงที่ 10)

ลักษณะอาการทางระบบประสาท

จำนวน/จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด

ร้อยละ

Apathy

11/115

9.6

Delirium

6/115

5.2

Glasgow Coma Scale score 3-8

14/115

12.2

Convulsion

9/115

7.8

Tremor

13/115

11.3

Muscle tone

- Normal

100/115

87.0

- Increased

11/115

9.6

- Decreased

4/115

3.5

Babinski’s sign

1/115

0.9



การวินิจฉัยโรค1,5 

        1. การตรวจหาไวรัส โดยวิธี virus isolation และ reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT–PCR) ซึ่งวิธี RT-PCR มีค่าความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) สูง การตรวจหาไวรัส ควรตรวจในช่วงที่มีระดับไวรัสสูง (high-titer viremia) คือ ในวันที่ 1 - 6 ของโรค 

        2. การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM และ IgG โดยวิธี serum neutralization test, indirect immunofluorescence assay และ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ซึ่งระดับแอนติบอดี จะเริ่มขึ้นในวันที่ 7 ของโรค โดยที่ IgM จะมีระดับสูงสุดในสัปดาห์ที่ 4 และจะลดลงจนไม่สามารถตรวจพบได้ 1 ปีหลังจากการติดเชื้อ และ IgG จะมีระดับสูงสุดในเดือนที่ 6 และสามารถตรวจพบได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี 


การรักษา
คือ การรักษาตามอาการ ปัจจุบันยังไม่มียาจำเพาะสำหรับโรคนี้


การป้องกันโรค
ได้แก่ หลีกเลี่ยงการถูกเห็บหมัดกัด ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่จำเพาะสำหรับโรคนี้1


เอกสารอ้างอิง

  1. Liu Q, He B, Huang SY, et al. Severe fever with thrombocytopenia syndrome, an emerging tick-borne zoonosis. Lancet Infect Dis. 2014; 14:763-72.
  2. Liu K, Zhou H, Sun RX, et al. A national assessment of the epidemiology of severe fever with thrombocytopenia syndrome. China Sci Rep. 2015; 5:9679.
  3. Shin J, Kwon D, Youn SK, et al. Characteristics and factors associated with death among patients hospitalized for severe fever with thrombocytopenia syndrome, South Korea, 2013. Emerg Infect Dis. 2015; 21:1704-10. 
  4. Kato H, Yamagishi T, Shimada T, et al. Epidemiological and clinical features of severe fever with thrombocytopenia syndrome in Japan, 2013-2014. PLoS One. 2016; 11:e0165207.
  5. Zhan J, Wang Q, Cheng J, et al. Current status of severe fever with thrombocytopenia syndrome in China. Virol Sin. 2017; 32:51-62. 
  6. Yu XJ, Liang MF, Zhang SY, et al. Fever with thrombocytopenia associated with a novel bunyavirus in China. N Engl J Med. 2011; 364:1523-32.
  7. Bao CJ, Guo XL, Qi X, Hu JL, et al. A family cluster of infections by a newly recognized bunyavirus in eastern China, 2007: further evidence of person-to-person transmission. Clin Infect Dis. 2011; 53:1208-14.
  8. Liu Y1, Li Q, Hu W, Wu J, et al. Person-to-person transmission of severe fever with thrombocytopenia syndrome virus. Vector Borne Zoonotic Dis. 2012; 12:156-60.
  9. Jiang XL, Zhang S, Jiang M, et al. A cluster of person-to-person transmission cases caused by SFTS virus in Penglai, China. Clin Microbiol Infect. 2015; 21:274-9.
  10. Deng B1, Zhou B, Zhang S, Zhu Y, et al. Clinical features and factors associated with severity and fatality among patients with severe fever with thrombocytopenia syndrome Bunyavirus infection in Northeast China. PLoS One. 2013; 8:e80802.