จุลสารสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย | มกราคม 2563



นายกสมาคมฯ เปิดใจแถลง

โดย รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 

Screen_Shot_2562_02_03_at_22.27.24.pngปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ทั่วโลกมีฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นอุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงที่สุกเป็นประวัติการณ์ พายุชนิดต่างๆ บุกเข้าถล่มตามประเทศต่างๆ ที่เคลื่อนผ่าน ประเทศไทยก็มีผลกระทบเช่นเดียวกันคือ มีฝนตกหนักมากตลอดตั้งแต่พฤษภาคมจนถึงทุกวันนี้ซึ่งเป็นปลายปีแล้ว ตอนน้ีช่วงใดที่ไม่มีฝนก็มีลักษณะ คล้ายจะมีอากาศเย็นลงบ้าง โดยทุกปีตอนเช้าหน้าหนาวลมมักสงบนิ่ง ดังน้ัน เมืองใหญ่ๆ จึงมีฝุ่นผง PM2.5 ลอยละล่องคล้ายเป็นหมอกและมักจะเป็นตลอดวัน เป็นที่น่าสงสารต่อผู้ป่วยที่มีโรคหอบหืด ภูมิแพ้ เด็กหรือผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่ ปอดจะไม่ค่อยแข็งแรง ทําให้เกิดอาการระคายเคืองตา น้ำมูกไหล หายใจติดขัด จึงขอเตือนทุกท่านระวังสุขภาพด้วย ใส่หน้ากากเป็นประจำเพื่อลดฝุ่นผงต่างๆ พอจะบรรเทาปัญหาลงไปได้บ้าง


ด้วยความที่ในภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งประเทศไทยมีฝนตกชุกมากในปีนี้ จึงเกิดโรคท่ีนําโดยยุงเป็นปัญหาไปท่ัวภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ เมียนมาร์ รวมทั้งประเทศไทยด้วย มีรายงานจำนวนผู้ป่วยและผู้ที่เสียชีวิตจากไวรัสเด็งกี่สูงกว่าปีก่อนๆ มากพอสมควรทั้งนี้น่าจะเกิด จากพาหะยุงมีปริมาณเพิ่มข้ึน สําหรับประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีมามีการระบาดของ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ไปทั่วประเทศ
Screen_Shot_2563_01_11_at_20.07.37.pngส่วนใหญ่มีรายงานมาจาก จังหวัดภาคใต้ นอกนั้นก็มีจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศโดยเฉพาะอย่างย่ิงกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล เนื่องจากแพทย์เร่ิมมีความตะหนักโรคนี้จึงส่งตรวจ บ่อยขึ้นก็พบโรคนี้มากขึ้น โดยที่ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้ ออกผื่น ปวดข้อ ภายใน 5-7 วัน ส่งตรวจ PCR ต่อเชื้อไวรัส Chikungunya จากเลือดผู้ป่วย หรือจะเจาะเลือดเป็น pair serum ห่างกัน 14 วัน ตรวจ Chikungunya IgG, IgM ก็จะช่วยการวินิจฉัยได้ สำหรับโรคนี้ในเด็กไทยยังมีผู้รายงานอาการและโรคแทรกซ้อนน้อยมาก แต่คาดว่าน่าจะมีผู้ป่วย Chikungunya ท่ีมีอาการรุนแรงมากได้เช่น อาจมาด้วยอาการชัก อาการทางสมอง อาการช๊อค อาการปอดบวม เป็นต้นดังเช่นการประชุม Interhospital Case Conference ของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 มีการนําเสนอผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคนี้ถึง 2 รายแต่มาด้วยอาการท่ีต่างกัน จึงสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดโรค Chikungunya ในเด็กต่อไป


เมื่อวันที่ 4-8 ตุลาคม 2562 มีการประชุม WSPID ท่ี กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีอาจารย์กุมารแพทย์จากประเทศไทยเข้าร่วมประชุมประมาณ 40 ท่าน ทั้งงานมีเข้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 800 คน เป็นกุมารแพทย์ฟิลิปปินส์ประมาณ 500 คน ที่เหลือเป็นกุมารแพทย์จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาจารย์จากประเทศไทย หลายท่านเป็นวิทยากร มีเนื้อหาวิชาการหลายเรื่องเก่ียวกับโรคติดเชื้อในเด็ก ท่ีน่าสนใจโดยเฉพาะเกี่ยวกับภูมิภาคอาเซียน

Screen_Shot_2563_01_11_at_20.07.42.png
สําหรับงานประชุม เวชศาสตร์เขตร้อนแห่ง สหรัฐอเมริกา: ASTMH ครั้งท่ี 68 ประชุมที่ National Harbor, Maryland, USA เมื่อวันที่ 20-24 พฤศจิกายน 2562 มีอาจารย์และนักวิชาการ โรคเขตร้อนจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุมประมาณ 10 ท่าน ผู้เข้าร่วมประชุมน่าจะมีจํานวนหลายพันคนส่วนใหญ่มาจาก ประเทศในทวีปอเมริกาและอัฟริกา เน้ือหาส่วนใหญ่เน้นหนัก ไปทางด้านโรค Malaria ซึ่งเป็นท่ี น่ายินดีว่าประเทศไทยกําลังเข้าสู่ สภาวะ Malaria Elimination แล้ว การประชุมมีผลงานวิจัยใหม่
เพื่อไปสู่การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรีย โดยเขตร้อนอื่นๆ พอมีบ้างเช่น Dengue, Zika, Ebola,Yellow fever เป็นต้น ส่วนใหญ่แนววิชาการมุ่งสู่ระดับ โมเลกุลและนําาไปสู่การพัฒนาวัคซีนในอนาคต


วันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2562 เป็นสัปดาห์แห่ง “การตะหนักใช้ยา ปฏิชีวนะโลก, World Antibiotics Awareness Week” ซึ่งปีนี้ทางสมาคมฯ ร่วมกับบริษัทผลิตภัณฑ์ยาปฏิชีวนะ ได้จัดทําวิดีโอคลิปเพื่อเผยแพร่แก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยาโดยมีผม อาจารย์วารุณี อาจารย์วนัทปรียา ร่วมเสนอและแสดงแนวคิดและความรู้เรื่องเชื้อดื้อยามุ่งเน้น ต่อบุคลากรทางการแพทย์ ติดตามได้จาก website ของสมาคมฯ


สุดท้ายนี้ใกล้จะสิ้นปี 2562 แล้ว และในวาระดิถีปีใหม่ พ.ศ. 2563 กําลังใกล้เข้ามา ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธ์ิในสากลโลกทั้งปวง จงดลบันดาลให้คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ คณาจารย์และกุมารแพทย์ทุกท่านที่ทำงานอย่างหนักเพื่อคนไข้เด็กตลอดปีพร้อมทั้งสมาชิกในครอบครัวของเหล่าคณาจารย์ทุกท่าน จงมีความสุขความเจริญสุขภาพทางกาย สุขภาพจิตแข็งแรกแจ่มใสตลอดปีและตลอดไป 


ดาวน์โหลดจุลสาร (Google Drive) - คลิกที่นี่