แนวทางการวินิจฉัย ดูแล รักษาผู้ป่วยสงสัยโรค MERS-CoV (Middle East Respiratory Syndrome) และการ ควบคุมป้องกัน การติดเชื้อในโรงพยาบาล


ข้อมูลทั่วไปของไวรัสโคโรน่า
  • ไวรัสโคโรน่าทั่วไปเป็น RNA virus สามารถก่อโรคทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร (ส่วนใหญ่อาการน้อย บางครั้งรุนแรงมาก) ยกเว้นเมื่อ ปี ค.ศ. 2002-2003 ซึ่งเป็น SARS Coronavirus
  • การติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด พบรายงานครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2555 ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียแพร่กระจายไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ การ์ตา จอร์แดน ฝรั่งเศส อิตาลี ตูนีเซีย เดิมเรียก Novel Corona virus แลปัจจุบันองค์การอนามัยโลกใช้ชื่อ Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus (MERS-CoV)
  • พบผู้ป่วย ได้ในทุกกลุ่มอายุ (ข้อมูลที่รายงานอายุที่พบระหว่าง 2 -83 ปี) ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ มีผู้ป่วยเด็กไม่ถึง 10 ราย สัดส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 0.3 เป็น 1:1
  • อัตราป่วยตาย ในช่วงแรก พบค่อนข้างสูง ร้อยละ 60-70 ปัจจุบันลดลงเหลือ ร้อยละ 36

ปัจจัยเสี่ยงที่พบ

  • มีรายงานว่าผู้ป่วยมีประวัติป่วยด้วยโรคเรื้อรัง สูบบุหรี่จัด กาลังให้เคมีบาบัดจานวน 31 ราย (ร้อยละ 60.8)
  • ความสาคัญของ MERS-CoV นอกจากอัตราป่วยตายที่สูงแล้ว ยังพบการแพร่จากคนสู่คน โดยเฉพาะบ้านผู้ป่วยและคนในโรงพยาบาล (Human to human transmission)
  • พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน(Cluster) ทั้งในครอบครัว (Family contact) และ ในโรงพยาบาล (Hospital setting) โดยมีรายงานการระบาดใน โรงพยาบาล ร้อยละ 26 ของรายงานผู้ป่วย MERS-CoV ทั้งหมดโดย ร้อยละ 12 ของผู้ป่วยทั้งหมดเป็นบุคลากรทางการแพทย์

ระยะฟักตัวประมาณ 10-14 วัน

อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยโรค MERS-CoV

  • พบว่าอาการของผู้ป่วยเริ่มตั้งแต่ ไม่มีอาการ อาการเพียงเล็กน้อย จนถึงอาการรุนแรงสาหรับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อย (Asymptomatic or mild case) พบได้ร้อยละ 13.5
  • ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการไข้สูง มากกว่า 38 องศาเซลเซียส อาการไอ และ หอบ หายใจเร็วมากกว่า 28 ครั้ง ต่อนาที Oxygen saturation (SpO2) น้อยกว่าร้อยละ 90 ในรายที่อาการรุนแรง พบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว ภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง (Severe Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS) ตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน
  • จากข้อมูลการวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยโดย Centers for Diseases Control ประเทศสหรัฐอเมริกา ในผู้ป่วย 47 ราย พบอาการไข้ร้อยละ 98 ร่วมกับ อาการ ไอ หอบ ร้อยละ 72 นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยอาการของระบบทางเดินอาหาร พบร้อยละ 26 ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว

ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ต้องระวังและคานึงถึง ถ้าพบผู้ป่วยที่เดินทางกลับมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีอาการไข้ ร่วมกับอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Severe AcuteRespiratory Infection: SARI) ควรนึกถีง MERS-CoV นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจแสดงอาการอื่น เช่น ถ่ายเหลว โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่า

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 - ผลเอกซเรย์ ปอด (Chest imaging (e.g. X-ray or CT scan): ลักษณะปอดอักเสบอาจพบภาพฉายรังสีไม่แตกต่างจากภาวะปอดอักเสบจากโรคอื่น

 - การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อหาเชื้อสาเหตุ

  • ควรเก็บ 2 ตัวอย่าง ทั้งจากเสมหะ และ Nasopharyngeal Aspiration ในการตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบ ที่มีสาเหตุจากไข้หวัดชนิดอื่น เช่น Influenza A, B, influenza A virus subtypes H1, H3, H5,H5N1, RSV, Parainfluenza viruses, rhinoviruses, adenoviruses, human metapneumoviruses,and non-SARS coronaviruses เป็นต้น ซึ่งการเก็บตัวอย่างโดยวิธีNasopharyngeal Aspiration เป็นการตรวจมาตรฐานสาหรับเชื้อดังกล่าว
  • ในการตรวจหาเชื้อ MERS-CoV พบว่าการตรวจจากเสมหะให้ความไวในการตรวจพบเชื้อสูงกว่าการเก็บตัวอย่างจาก Nasopharyngeal Aspiration
  • ส่งตรวจโดยใช้ reverse-transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) โดยสามารถส่งตรวได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ทุกแห่ง หรือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การรักษา

1) การรักษาเฉพาะ

a. การให้ยาต้านไวรัส

  • ยังไม่มียาต้านไวรัส เนื่องจากโรค MERS-CoV เป็นโรคอุบัติใหม่ ข้อมูลการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจากัด ยังไม่มีรายงานยาเฉพาะที่ใช้รักษาที่ชัดเจน ส่วนยาต้านไวรัส Ribavirin มีข้อมูลการศึกษาค่อนข้างน้อย พบว่ายาต้านไวรัส Ribavirin มีในรูปของชนิดรับประทาน และฉีด แต่มีผลข้างเคียงของยาค่อนข้างรุนแรง ที่มีรายงาน คือ ทาให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis)
  • แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับอาการปอดบวม หลังจากเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อ ถ้าผู้ป่วยอาการรุนแรง ระหว่างรอผลการตรวจ แนะนาให้ยาต้านไวรัส Oseltamivir ในขนาดที่ให้การรักษาไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสชนิดใด

b. การให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในกรณีผู้ป่วยปอดบวม

  • ควรพิจารณาให้เป็นรายรายไป กรณีที่ไม่สามารถแยกอาการปอดบวมจากสาเหตุแบคทีเรียได้ หรือกรณีพบปอดบวมจากการติดเชอื้ แบคทีเรีย

2) การรักษาตามอาการ เน้นการรักษาแบบประคับประคอง

a. ติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

b. การช่วยเหลือภาวะขาดอ็อกซิเจน

  • ให้ supplemental oxygen therapyโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ SpO2 < ร้อยละ 90 เริ่มโดย การจากให้อ็อกซิเจน 5 ลิตรต่อนาที และปรับขนาดตามอาการของผปู้ ่วย จนระดับ SpO2 ≥ ร้อยละ 90 ในคนทั่วไป และ SpO2 ≥ ร้อยละ 92-95 ในหญิงตั้งครรภ์

c. กรณีที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้พิจารณาตามการรักษาปอดบวมทั่วไป หรือปรึกษาแพทย์ผ้เูชี่ยวชาญด้านโรคปอด

Infection Control ในสถานพยาบาล

เนื่องจาก พบรายงานการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Setting), ในครอบครัวและ ผู้สัมผัสใกล้ชิด (Family cluster and closed contact cluster)

เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชอื้ และการแยกผปู้ ่วย (Isolation Precautions) องค์การอนามยัโลกแนะนาการป้องกันการแพร่กระจายเชอื้ และแยกผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ

  • Standard precautions รวมถึง Hand hygiene, Respiratory hygiene and coughetiquette, Safe injection practices และข้อปฏิบัติอื่นๆ
  • โรคปอดบวมทั่วไป เป็น contact precaution และ droplet precaution
  • MERS-CoV เป็น droplet nuclei or tiny droplet ถ้าไอในระยะ 1 เมตร สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ องค์การอนามัยโลกได้แนะนาวิธีการป้องกันแบบ droplet precautionรวมทั้งหัตถการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ
  • Airborne precaution โดยให้ผู้ป่วยอยู่ใน Airborne infection isolation room (AIIR)หรือห้องเดี่ยวที่มีพัดลมดูดอากาศสู่ภายนอกและนอกอาคารบริเวณที่เหมาะสม (ปิดประตูตลอดเวลา)
  • สาหรับผปู้ ว่ ยให้สวม Surgical Mask บางแห่งเรียก Medical Mask ซึ่งเป็น หน้ากากชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หากต้อง ออกนอกห้อง แต่เมื่ออยู่ในห้องอาจถอด Mask ออกได้
  • ส่วนบุคลากรทางการแพทย ์ให้ใช้ Surgical Mask เมื่อเข้าไปในห้องผู้ป่วยเช่นเดียวกันยกเว้น หากต้องทาหัตถการที่จะก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosol) ให้สวมหน้ากากระดับ N95 หรือเทียบเท่าในการดูแลผู้ป่วย สวม Goggle หรือ Face Shield และเสื้อคลุมแขนยาว (Gown) ชนิดกันน้าได้
  • ไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้องหากไม่มีความจาเป็นจริง ๆ เนื่องจากไม่ทราบระยะเวลาการแพร่เชื้อ ที่แน่นอน

การตั้งจุดคัดกรอง

ณ จุด ผู้ป่วยนอก และ ห้องฉุกเฉิน ควรจัดตั้งจุดคัดกรองผปู้ ่วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่นเดียวกับที่ดาเนินการในกรณีไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่

ในกลุ่มผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยที่มีไข้ > 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการติดเชอื้ ระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (เช่น ไอ หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ หรือ ปอดอักเสบ และ มีประวัติเดินทางมาจาก หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย หรือสงสัยว่ามีการระบาดของเชอื้ MERS-CoVหรือ สัมผัสใกล้ชิดกับ “ผู้ป่วยน่าจะเป็น” หรือ “ผู้ป่วยยืนยัน” ในช่วงเวลา 14 วัก่อนวันเริ่มป่วย
  2. ผู้ป่วยปอดบวมที่เกิดเป็นกลุ่มก้อน (พบผู้ป่วยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ที่มวี ันเริ่มป่วยอยู่ในช่วงเวลาห่างกันไม่เกิน14 วัน) ในชุมชนหรือที่ทางานเดียวกัน หรือมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา
  3. ผู้ป่วยปอดบวมในบคุ ลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยปอดบวม หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ตรวจตัวอย่างผู้ป่วย ในช่วงเวลา 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย
  4. ผู้ป่วยปอดบวมรุนแรง หรือ กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอยา่ งรุนแรง ( Severe Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS) ที่ไม่ทราบเชื้อสาเหตุ

เน้นย้าเรื่องสุขลักษณะของมารยาทการไอจาม (Respiratory Etiquette) เช่น หากไอหรือจามควรปิดปาก ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย ควรล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น

คำนิยามผู้ป่วย (ตามแนวทางการเฝ้าระวังโรคฯ สานักระบาดวิทยา ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2556)

ผู้ป่วยที่รายงานเพื่อทำการสอบสวนโรค (Patients to be investigated):

1. ผู้ป่วยปอดบวมที่มีประวัติเสี่ยง หมายถึง ผู้ป่วยปอดบวมที่มีประวัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • อาศัยหรือเดินทางจากประเทศแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง2 ในช่วงเวลา 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยปอดบวม หรือเจ้าหน้าที่ห้อง ป ฏิบัติก ารที่ต รวจตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ ในช่วงเวลา 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย
  • สัมผัสใกล้ชิด3 “ผู้ป่วยเข้าข่าย” หรือ “ผู้ป่วยยืนยัน” ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ในช่วง เวลา14 วันก่อนหรือหลังวันเริ่มป่วย
  • ผู้ป่วยปอดบวมที่เกิดเป็นกลุ่มก้อน (พบผู้ป่วยตั้ง แต่ 2 รายขึ้นไป ที่มีวันเริ่มป่วยอยู่ในช่วง เวลาห่างกันไม่เกิน14 วัน) ในชุมชนหรือที่ทางานเดียวกัน หรือมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยาหมายเหตุ: ผู้ป่วยปอดบวมทั้ง 4 กลุ่มนี้ต้องตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า ถึงแม้ว่าอาจตรวจพบเชื้อสาเหตุอื่นๆ แล้ว

2. ผู้ป่วยปอดบวมรุนแรง หรือ กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง (Severe Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS ) ที่ไม่ทราบเชื้อสาเหตุ (อาจเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย)

  • ปอดบวมรุนแรง หมายถึง ผู้ป่วยปอดบวมที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หมายเหตุ: ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถึงแม้ไม่มีประวัติเสี่ยง แต่ยังคงเข้าเกณฑ์ที่ต้องสอบสวนโรค
3. ผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้ ไอ น้ามูก เจ็บคอ ที่สัมผัสใกล้ชิด3 กับ“ผู้ป่วยเข้าข่าย”
หรือ “ผู้ป่วยยืนยัน” ในช่วงเวลา 14 วันก่อนหรือหลังวันเริ่มป่วย
ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable case) แบ่งออกเป็น 3 กรณี:
     กรณีที่1 ผู้ป่วยปอดบวม หรือ ภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS) ซึ่งมีประวัติอาศัยอยู่หรือเดินทางไปประเทศแถบตะวันออกกลางที่มีรายงานการระบาดโรค MERS-CoV ในช่วง 14 วันก่อนวันเริ่มป่วย ร่วมกบั มีผลการตรวจที่ไม่สามารถสรุปผลได้ (inconclusive tests)5 (เช่น ตรวจ PCR ให้ผลบวกเพียงชุดเดียว)
    กรณีที่ 2 ผู้ป่วยป อด บ วม หรือ ภาวะระบ บทาง เดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory
Distress Syndrome: ARDS) ซึ่งมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด3 กับผู้ป่วยยืนยัน MERS-CoV
ร่วมก ับ ไม่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือ ผลการตรวจหาไวรัสโคโ รน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ให้ผลลบ
จากการตรวจเพียง 1 ครั้ง จากตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือด้อยคุณภาพ4
    กรณีที่ 3 ผู้ป่วยที่มีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ไม่ว่าจะเป็นอาการของ ระบ บ
ทางเดินหายใจส่วนบนหรือส่วนล่าง) ซึ่งมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด3 กับผู้ป่วยยืนยัน MERS-CoVร่วมกับ มีผลก าร
ตรวจที่ไม่สามารถสรุปผลได้5 (เช่น ตรวจ PCR ให้ผลบวกเพียงชุดเดียว)
ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case)
     หมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าพบสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสโ ค โ รน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 (MERS-CoV) โดยก ารต รวจด้วยวิธี PCR ด้วยจีโ นมจาเพาะ (specific genomic target) อย่างน้อย 2 ชุด หรือ single PCR ร่วมกับการทา Genetic sequencing
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค (Case under investigation)

     ผู้ป่วยที่ยังต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งทางคลินิก และ/หรือ ป ระวัติก ารสัมผัสปัจจัยเสี่ยง ในพื้นที่ และ/หรือ
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ก่อนที่จะสามารถสรุปจาแนกประเภทผู้ป่วยได้ชัดเจน
ผู้ป่วยคัดออก (Excluded)

     ผู้ป่วยที่ข้อมูลจากการสอบสวนโรคพบว่า ไม่เข้านิยามผู้ป่วยประเภทต่างๆ ข้างต้นหรือการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการไม่พบหลักฐานการติดเชื้อ
แนวทางการส่งต่อผู้ป่วย
การส่งต่อผู้ป่วยเป็นเรื่องจาเป็นสาหรับระบบบริการสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ บริการรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐาน มีความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยวิกฤติอาจไม่ได้อยู่ในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการที่มีปัญหาของโรคที่ซับซ้อนได้อย่าง มีประสิทธิภาพการส่งต่อ และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อไป ยัง สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าจึงจาเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและปลอดภัย
ในด้านการควบคุมการระบาดของโรค ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้บ้านหรือแหล่งที่ได้รับเชื้อ เพื่อลดการกระจายของเชื้อ
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความรุนแรงของโรค ดังนี้
  • ระดับที่1 ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ แต่อาการไม่รุนแรง ไม่มีภาวะการหายใจล้มเหลว
  • ระดับที่ 2 ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบรุนแรง และมีภาวะการหายใจล้มเหลว
  • ระดับที่ 3 ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบรุนแรง และมีภาวะ acute respiratory distress syndrome(ARDS) หรือผู้ป่วยที่มีการทางานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลว (multi organ failures)

ผู้ป่วยควรรับการรักษาในระดับโรงพยาบาลทั่วไปหรือในระดับโรงพยาบาลศูนย์ เนื่องจากจาเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ และผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสดาเนินโรคสู่ภาวะARDS หรือ multi organ failures ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมีการดาเนินของโรครุนแรงขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อนควรได้รับการส่งต่อตามตารางที่ 2 และควรคานึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยรายนั้นๆ ในระหว่างการส่งตัวกลับ และ การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ (Infection control : Standard precaution & Airborne precaution)

การติดต่อสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วย (Communication arrangement)

การติดต่อสื่อสารก่อนก ารส่ง ต่อเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้ก ารส่ง ต่อมีป ระสิทธิภาพ ค วรพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มีขีด ค วามสามารถ และมีค วามพร้อมที่ใก ล้ที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการย้ายผู้ป่วยหลายทอดและการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

ขั้นตอนการส่งต่อที่ควรปฏิบัติดังนี้

  1. แพทย์ผู้ส่งต่อควรติดต่อประสานงานกับแพทย์ผู้รับ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและสภาพของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาที่ให้ การดาเนินโรค ภาวะแทรกซ้อน และความพร้อมในการรับผู้ป่วยเข้าห้องแยก
  2. ผู้เกี่ยวข้องระหว่างสถานพยาบาลที่ส่งต่อติดต่อประสานงานกับทีมผู้ดูแลในสถานพยาบาลที่รับรักษาต่อ เกี่ยวกับข้อมูลที่จาเป็น รวมทั้งสถานที่ อุปกรณ์ PPE และการนัดหมาย
  3. แพทย์ผู้ส่งต่อควรอธิบายให้ผู้ป่วย บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมรับทราบปัญหาและความจาเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมทั้ง ปรึกษาหารือให้ผู้ป่วย บิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอมให้เคลื่อนย้าย ในก รณีที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมจ ะเค ลื่อนย้าย แพทย์ผู้รักษาควรอธิบายให้ผู้ป่วย บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทราบ ถึง อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง
  4. แพทย์ผู้ส่งต่อควรเขียนใบส่งต่อ เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับแพทย์ผู้รับในการพิจารณาดูแลผู้ป่วยต่อไป หากมีรายละเอียดมาก ควรทาสาเนา แฟ้มเวชระเบียน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการฟิล์ม X-ray แนบไปด้วยข้อมูลที่ควรมีในใบส่งต่อ ได้แก่
         4.1 ประวัติการ การตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยเบื้องต้นการรักษาที่ให้ การดาเนินโรค และภาวะแทรกซ้อน
         4.2 ชื่อแพทย์เจ้าของไข้ ที่อ่านออก ชัดเจน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ติดต่อกลับ
         4.3 กรณีใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ให้นามาพร้อมผู้ป่วย และดาเนินขั้นตอนการส่งตัวให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การใช้บัตร
         4.4 ประทับตรากากับในใบส่งตัวด้วยว่า เรียกเก็บเงินจากหน่วยงานใด เช่นสาธารณสุขจังหวัด.... หรือโรงพยาบาล.... เป็นต้น
  5. กรณีผู้ป่วยอาการหนักมาก แพทย์ผู้ส่งต่อควรปรึกษาแพทย์ที่รับย้ายในการให้การรักษาที่จาเป็นก่อน และระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
  6. ควรให้ผู้ป่วย บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ที่สามารถอนุญาตให้ทาการรักษาลงชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร (รวมทั้งการทาหัตถการและการผ่าตัดที่อาจต้องกระทาในระหว่างการรักษา) เดินทางพร้อมกับผู้ป่วย หรือให้ตามไปยังสถานพยาบาลที่รับย้ายกรณีที่บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้เดินทางพร้อมกับผู้ป่วย ควรมีบันทึกข้อความให้บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ให้แพทย์ทางสถานพยาบาลที่รับส่งต่อ ทาการรักษา/ผ่าตัด นามาพร้อมผู้ป่วย เพื่อเตรียมพร้อมกรณีที่ต้องได้รับการผ่าตัด หรือทาหัตถการเร่งด่วน
  7. ในระหว่างการส่งต่อทีมผู้เคลื่อนย้ายควรใช้ PPE ที่เหมาะสม และเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ และสามารถติดต่อสื่อสารกับแพทย์ผู้ส่งต่อ และแพทย์ผู้รับรักษาเพื่อทราบ และให้แพทย์ผู้รับรักษาสามารถเตรียมพร้อมสาหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป
  8. ถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนหรือระหว่างเดินทาง หรืองดการย้าย ต้องแจ้งให้สถานพยาบาลที่รับย้ายทราบด้วยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทาได้