สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012


สถานการณ์ในต่างประเทศ

          ข้อมูลจากเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก รายงาน ณ วันที่ 23, ๒๗ และ 28 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พบ
ผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 จำนวน 2 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 1 ราย โดยรายแรก
เป็นผู้ป่วยชายชาวซาอุดิอาระเบียอายุ 60 ปี ป่วยด้วยอาการปอดอักเสบและไตวาย และเสียชีวิต ได้ส่งตัวอย่าง
เนื้อเยื่อปอดไปตรวจที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผลยืนยันการพบเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 หรือโรคโคโร
น่า 2012 (Novel Coronavirus) รายที่สองเป็นผู้ป่วยชายชาวกาตาร์ อายุ 49 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรงดีมาก่อน เริ่ม
มีอาการเมื่อวันที่ 3 กันยายน โดยมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศซาอุดิอาระเบียก่อนเริ่มมีอาการ และเมื่อวันที่
7 กันยายน ผู้ป่วยได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนักในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ต่อมาวันที่ 11 กันยายน ผู้ป่วย
ได้รับการส่งตัวไปรักษาต่อยังประเทศสหราชอาณาจักร และได้รับการยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจาก
ประเทศสหราชอาณาจักร ว่าพบเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 (Novel Coronavirus) ซึ่งมีความคล้ายคลึง
กับผู้ป่วยรายแรก และยังไม่มีหลักฐานยืนยันการแพร่ระบาดจากคนสู่คน

ข้อมูลจากเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก ฉบับล่าสุด รายงาน ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555 พบ
รายละเอียดว่า องค์การอนามัยโลก ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังไม่พบหลักฐานการแพร่ติดต่อของเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 จากคนสู่คนแต่อย่างใด รวมทั้งไม่แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองพิเศษในผู้เดินทาง ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศเนื่องจากเหตุการณ์การพบเชื้อนี้แต่อย่างใด และไม่แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย


สถานการณ์ในประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ยังไม่มีรายงานการตรวจพบผู้ป่วยติด
เชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 แต่อย่างใด


มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข
- ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางที่จะไป-มาจากต่างประเทศที่พบผู้ป่วย
- ดำเนินการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาและทางห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งเตรียมการสอบสวนโรคและเก็บตัวอย่างส่งทางทางห้องปฏิบัติการ หากพบผู้ป่วยสงสัย
- แจ้งเตือนบุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรง พยาบาล โดยให้เข้มงวดเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับเคยปฏิบัติมาแล้วเมื่อพบการเกิดโรคซาร์ส
- ขอความร่วมมือจากสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด กรุงเทพมหานคร รวมทั้งกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงแรงงาน ในการเตรียมความพร้อมสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธ์ุใหม่ 2012
- มีการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ชื่อ http://beid.ddc.moph.go.th
- การประสานความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการร่วมกันประเมินสถานการณ์ และวางมาตรการป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งเตรียม


ความพร้อมรับมือการระบาดของโรค

คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางที่จะไป-มาจากต่างประเทศ
- เนื่องจากทางองค์การอนามัยโลก ยังไม่แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางไปยังประเทศใด ดังนั้น ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ให้เน้นการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และหมั่นล้างมือบ่อยๆ นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค หากจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ อาจพิจารณาการใส่หน้ากากอนามัย และเปลี่ยนบ่อยๆ
- ผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ ควรสังเกตอาการผิดปกติ หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน และปฏิบัติตามมาตรการลดการแพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง โดยการใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการไข้สูง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง


คำแนะนำประชาชน
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ หรือจาม
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่
- ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก หากจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่แออัด อาจพิจารณาการใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค
- แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลา ไอ หรือจาม
- ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข

ไฟล์แนบบทความ
 Download [82 kb]