โรคโบทูลิซึม (BOTULISM)

<p><span style="font-size: x-large;">โรคโบทูลิซึม (BOTULISM)</span><br />
&nbsp;</p>
<p><strong>1. ลักษณะโรค :</strong> โรคโบทูลิซึมมักมีอาการรุนแรง แต่พบได้ไม่บ่อย เกิดจากท็อกซินหรือสารพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อคลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Botulinum neurotoxin)ทำให้เกิดอาการอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนแรง (fl accidparalysis) ปัจจุบันพบ ท็อกซินนี้ทั้งหมด 7 ชนิด (type)สำหรับชนิดที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ ชนิด A, B และ&nbsp;E พบน้อยรายที่เกิดจากชนิด F หรือชนิด Gโรคนี้จำแนกออกได้เป็น 4 รูปแบบ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนี้<br />
<br />
1. โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม (Foodborne botulism)เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาทของเชื้อแบคทีเรียคลอสทริเดียมเข้าไป<br />
<br />
2. โบทูลิซึมที่บาดแผล (Wound botulism) เกิดจากสปอร์ของ Clostridium botulinum เกิดการงอกและผลิตสารพิษออกมา ได้ปนเปื้อนเข้าสู่บาดแผลเชื้อจะเจริญเพิ่มจำนวนในสภาวะที่มีออกซิเจนตํ่าโดยทั่วไปจะพบเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บรุนแรงอาการจะคล้ายกับโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม แต่อาจใช้เวลานานถึง 2 สัปดาห์ หลังติดเชื้อ จึงจะเริ่มแสดงอาการ (ดังรูปที่ 47)</p>
<p style="text-align: center;"><img src="/userfiles/Capture(80).jpg" width="300" height="362" alt="" /></p>
<p><br />
3. โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism) เกิดจากการสร้างโคโลนีของเชื้อในทางเดินอาหารของทารก มักเกิดในเด็กอายุตํ่ากว่า 12 เดือน ส่วนใหญ่พบในเด็กทารกอายุระหว่าง 6 สัปดาห์ - 6 เดือนอาการที่พบในเด็กทารกเริ่มด้วยท้องผูก เบื่ออาหารอ่อนเพลีย ดูดกลืนลำบาก ร้องไห้เสียงเบา และคออ่อนพับ (ดังรูปที่ 48)</p>
<p style="text-align: center;"><img src="/userfiles/Capture(81).jpg" width="300" height="464" alt="" /></p>
<p>4. โรคโบทูลิซึมจากลำไส้เป็นพิษในผู้ใหญ่ (Adultintestinal toxemia botulism)นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 รูปแบบ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนี้<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp;1. โรคโบทูลิซึมจากการสูดดม (Inhalational&nbsp;botulism) เกิดจากการสูดดมสารพิษโบทูลิซึมที่มีผลต่อระบบประสาทซึ่งลอยอยู่ในอากาศเข้าไป<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp;2. โรคโบทูลิซึมที่เกิดจากการรักษาพยาบาล(Iatrogenic botulism) เกิดจากการนำเอาสารพิษโบทูลิซึมที่มีผลต่อระบบประสาทเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต แทนที่วัตถุประสงค์ของการรักษาโรคอย่างไม่ได้ตั้งใจ</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><strong>2. ระบาดวิทยา :</strong> <br />
<strong>สถานการณ์ทั่วโลก : </strong>ในปลายศตวรรษที่&nbsp;18 มีบันทึกการระบาดของอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการรับประทานไส้กรอก ในประเทศเยอรมันตอนใต้ เรียกว่า&nbsp;&ldquo;ไส้กรอกเป็นพิษ&rdquo; (sausage poison) ต่อมาในปี พ.ศ. 2438พบมีการระบาดของอาหารเป็นพิษภายหลังการรับประทานอาหารเย็นในงานศพที่ประกอบด้วยแฮมรมควันในหมู่บ้านเล็กๆ ในประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งในการระบาดทั้ง 2 ครั้ง พบผู้ป่วยมีอาการคล้ายคลึงกันในครั้งหลังจึงตรวจพบเชื้อก่อโรคซึ่งมีสาเหตุจากไส้กรอก(ในภาษาลาตินคำว่าไส้กรอกใช้คำว่า &ldquo;botulus&rdquo; จึงตั้งชื่อเชื้อก่อโรคนี้ว่า &ldquo;Clostridium botulinum&rdquo;)</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผู้ป่วยทั่วโลกส่วนใหญ่ของถูกรายงานจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของรายงานทั้งหมด มาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนในประเทศอื่นๆ พบรายงานผู้ป่วยในประเทศอาเจนตินา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น แคนนาดาและประเทศในแถบยุโรป (ส่วนใหญ่ ในประเทศอิตาลีและอังกฤษ) และพบมีรายงานผู้ป่วยนานๆ ครั้ง ในประเทศชิลี จีน อียิปต์ สาธารณรัฐอิหร่าน อิสราเอลและเยเมน</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ในการระบาดของโรคโบทูลิซึม ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม (Foodborn botulism) ในขณะที่โรคโบทูลิซึมรูปแบบอื่นๆ พบได้บ้างประปรายในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี พ.ศ. 2533 - 2543พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 263 ราย จาก 163 เหตุการณ์ของการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม โดยเฉลี่ยพบผู้ป่วยประมาณ 17 - 43 รายต่อปี</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;โรคโบทูลิซึมในทารก (infant botulism) พบมีรายงานในทวีปอเมริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และยุโรปแต่ยังไม่ทราบอุบัติการณ์และการแพร่กระจายของโรคที่แน่ชัด เนื่องจากมีการรายงานน้อยกว่าที่เป็นจริง เพราะผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงและความตระหนักของแพทย์ที่ให้การรักษา รวมถึงความจำกัดในวิธีการทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรค ในประเทสสหรัฐอเมริกา ในช่วงปีพ.ศ. 2535 - 2549 พบผู้ป่วยโรคโบทูลิซึมในทารกจำนวน2,419 ราย (เฉลี่ย 2.1 รายต่อแสนเด็กเกิดมีชีพ)</p>
<p>&nbsp; &nbsp; โรคโบทูลิซึมที่บาดแผล (wound botulism) พบมีรายงานครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี 2533 โดยพบมีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนของสปอร์ของเชื้อโบทูลิซึมกับเฮโรอีนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และในปี พ.ศ. 2548 พบรายงานการระบาดด้วยโรคโบทูลิซึมที่บาดแผลในประเทศเยอรมนีจำนวน 12 ราย โดยพบสัมพันธ์กับการใช้เฮโรอีนเช่นกัน</p>
<p><strong>สถานการณ์โรคในประเทศไทย :</strong> มีรายงานการระบาดเป็นครั้งแรกที่จังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2541 มีสาเหตุมาจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่ไม่ได้ต้มปนเปื้อนท็อกซิน มีผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย เสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 15 ต่อมา มีการระบาดเล็ก ๆเกิดประปรายในบางปีในเขตภาคเหนือบางจังหวัด เช่นลำปาง (พ.ศ. 2546) มีผู้ป่วย 11 ราย เสียชีวิต 1 รายสาเหตุจากหน่อไม้ปี๊บ จังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ. 2548) พบเหตุปัจจัยเสี่ยงร่วมกันเป็นเนื้อหมูป่าดิบ และการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นที่จังหวัดน่าน (พ.ศ. 2549) มีผู้ป่วยรวม 209 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต สาเหตุจากรับประทานหน่อไม้ปี๊บไม่ได้ต้ม นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขครั้งสำคัญของประเทศ ต้องระดมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องช่วยหายใจ รวมถึง แอนติทอกซินจากต่างประเทศเข้ามาแก้พิษโดยเร่งด่วน รวมทั้งประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><strong>3. อาการของโรค :</strong></p>
<p>1. โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม (Foodbornebotulism) อาการทางระบบประสาท โดยเริ่มจากเหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ และตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน หนังตาตกห้อย (ptosis) ปากแห้งกลืนหรือพูดลำบาก อาจพบอาการคลื่นเหียนอาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก หรือท้องบวมโตได้ ต่อมาจะเกิดอัมพาตชนิดกล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง เริ่มจากส่วนบนลงล่าง (Descending&nbsp;symmetrical fl accid paralysis) โดยจะเริ่มจากใบหน้า ลามไปที่ไหล่ แขนส่วนบน แขนส่วนล่างต้นขา และน่อง ตามลำดับ ซึ่งหากเกิดอัมพาตที่กล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ จะทำให้การหายใจล้มเหลวถึงเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยมักไม่มีไข้ (ยกเว้นมีการติดเชื้อแทรกซ้อน) และสติรับรู้มักยังดีอยู่</p>
<p>2. โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism) ท้องผูกเบื่ออาหาร ไม่มีแรง ซึม กระสับกระส่าย ร้องไห้เสียงเบา และคออ่อนพับ เด็กป่วยประมาณร้อยละ 5มีอาการหายใจไม่ทันหรือชะงักไป หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตกระทันหัน (Sudden Infant Death&nbsp;Syndrome หรือ SIDS)</p>
<p>3. โรคโบทูลิซึมที่บาดแผล (Wound botulism)อาการจะคล้ายกับอาการทางระบบประสาทจากโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม</p>
<p><br />
<strong>4. ระยะฟักตัวของโรค : </strong>มักจะปรากฏอาการทางระบบประสาทภายใน 12 - 36 ชั่วโมง</p>
<p><br />
<strong>5. การวินิจฉัยโรค : </strong>ในกรณีของโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึมทำโดยการหาท็อกซินโบทูลินัมในนํ้าเหลือง อุจจาระนํ้าล้างกระเพาะ หรืออาหารที่สงสัย หรือโดยการเพาะเชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม จากอุจจาระหรือนํ้าล้างกระเพาะผู้ป่วย การพบเชื้อในอาหารที่สงสัยจะเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนโรค แต่ไม่ใช่การยืนยันโรคเสมอไป เพราะสปอร์ของเชื้อนี้ตรวจพบได้ในสภาวะแวดล้อมทั่วๆ ไปอยู่แล้ว การตรวจพบท็อกซินจึงมีความสำคัญกว่า การวินิจฉัยโรคนี้อาจใช้ได้ในผู้ป่วยที่แสดงอาการคล้ายกันและรับประทานอาหารชนิดเดียวกันกับผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ สำหรับโรคโบทูลิซึมที่บาดแผลใช้การตรวจหาท็อกซินในนํ้าเหลืองหรือเพาะเชื้อจากแผลการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคโบทูลิซึมทุกรูปแบบได้การระบุ คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium&nbsp;botulinum) ส่วนโรคโบทูลิซึมในลำไส้ มักไม่พบท็อกซินในนํ้าเหลือง แต่จะพบในอุจจาระของผู้ป่วยได้มากกว่าและมักจะเพาะแยกเชื้อจากอุจจาระหรือตัวอย่างชันสูตรศพได้ด้วย</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><strong>6. การรักษา : </strong>ให้ยาต้านพิษ (antitoxin) ทางหลอดเลือดและเข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุด ควรเจาะเลือดของคนไข้เพื่อเก็บตรวจหาสารพิษก่อนให้ยาต้านพิษแต่ไม่ควรรอดูผลเลือดเพื่อให้ยาต้านพิษ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ (Intensive Care Unit)เพื่อสามารถแก้ไขภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการตาย</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; การรักษาการติดเชื้อที่แผล นอกจากการใช้แอนติท็อกซินแล้ว ควรจะเปิดปากแผลให้กว้าง และ/หรือใส่ท่อระบาย และให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เช่นยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ฯลฯ</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การรักษาโรคโบทูลิซึมในลำไส้ จำเป็นต้องให้การรักษาประคับประคองอย่างใกล้ชิด ไม่ควรให้แอนติท็อกซินผลิตจากซีรั่มม้า เพราะอาจเกิดอันตรายจากการแพ้ได้ ส่วนยาปฏิชีวนะนั้น พบว่าไม่มีผลต่อระยะการป่วย และจำเป็นต้องให้เฉพาะรายติดเชื้อแทรกซ้อนเท่านั้น ในกลุ่มนี้อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในสหรัฐอเมริกานั้นมีการใช้อิมมูโนโกลบูลิน (Humanderived botulinal immune globulin: BIG) สำหรับรักษาโรคโบทูลิซึมในลำไส้ และปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโบทูลิซึม แต่ยังไม่มีรายงานผลการศึกษาในด้านประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีนดังกล่าว</p>
<p><br />
<strong>7. การแพร่ติดต่อโรค :</strong> ติดต่อโดยการกินอาหารที่มีสารพิษโดยเฉพาะจากอาหารกระป๋องที่ผ่านความร้อนในระหว่างการบรรจุอาหารกระป๋องไม่เพียงพอ และไม่มีการทำให้อาหารร้อนพอก่อนรับประทาน</p>
<p><br />
<strong>8. มาตรการป้องกันโรค :</strong></p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;1. ควบคุมมาตรฐานในกระบวนการผลิตอาหารกระป๋อง และอาหารที่จะเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;2. ป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อและสปอร์ ในการถนอมอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท เช่น ขวดกระป๋อง และปี๊บ ฯลฯ โดยเฉพาะพืชผักที่มีความเป็นกรดตํ่า ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเพิ่มจำนวนของเชื้อและการเกิด</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;3. อาหารกระป๋องที่บวมจึงไม่ควรเปิด ควรส่งคืนร้านที่ซื้อมา และกรณีอาหารมีกลิ่นผิดปกติ ไม่ควรรับประทานหรือลองชิม</p>
<p><strong><br />
9. มาตรการควบคุมการระบาด : ก</strong>ารพบผู้ป่วยที่สงสัยเพียงรายเดียว เป็นเครื่องบ่งชี้การระบาด เมื่อพบว่าอาหารชนิดใดเป็นสาเหตุจากวิธีการทางระบาดวิทยาหรือจากการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ จะต้องรีบค้นหาผลิตภัณฑ์ที่สงสัยและผู้ที่รับประทานอาหารเหล่านั้น รวมทั้งอาหารอื่นๆ ที่เหลือจากแหล่งที่สงสัยเพราะอาจมีการปนเปื้อนด้วยเช่นกัน ควรเก็บตัวอย่างอาหาร เก็บนํ้าเหลืองและอุจจาระผู้ป่วย เพื่อยืนยันสาเหตุทันทีก่อนที่จะให้แอนติท็อกซิน</p>
<p><em><br />
</em></p>
<p><em>เอกสารอ้างอิง :</em></p>
<p><em>1. Heymann DL., Editor, Control of Communicable</em><em>Diseases Manual 19th Edition, American Association</em><em>of Public Health, 2008.</em></p>
<p><em>2. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค. แนวทาง</em><em>การป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับบุคลากร</em><em>สาธารณสุข.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร</em><em>แห่งประเทศไทย จำกัด ; 2551.</em></p>