What's new in Dengue?


Moderator: รศ. (พิเศษ) นพ. ทวี โชติพิทยสุนนท์ 
Speakers: ศ.พญ. อุษา ทิสยากร, Prof. Tikki Pang (Pangestu)

w1.jpg

ศ.พญ. อุษา ทิสยากร กล่าวว่า

โรคติดเชื้อไวรัสเดงกี เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโดยรวมมีแนวโน้มสูงขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHOGlobal Strategy for Dengue Prevention and Control 2012-2020)มีเป้าหมายจะลดอัตราตายและอัตราพิการจากโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีให้ได้อย่างน้อย 50% และ 25% ภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)ตามลำดับ (เทียบกับปี ค.ศ. 2010) ซึ่งจะต้องมี 5 องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ diagnosis and case management, integrated surveillanceand outbreak preparedness, sustainable vector control, basic operational and implementation research และ future dengueimplementation ซึ่งจะเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จนี้


ในปัจจุบันมีวัคซีนเดงกีที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาในคนหลายชนิด วัคซีน Sanofi Pasteur CYD tetravalent dengue vaccine (TDV)เป็นวัคซีนที่มีการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 ใน dengue endemicarea คือใน Southeast Asia (CYD14) และ Latin America (CYD15)ซึ่งผลการศึกษาพบว่าวัคซีนนี้มีประสิทธิภาพโดยรวมต่อโรคติดเชื้อเดงกี (Overall efficacy against virologically confirmed case of any dengue serotype) 56.5% (95% CI 43.8-66.4) และ 60.8% (95% CI 52.0-68.0) ตามลำดับ ซึ่งถึงแม้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมไม่สูงนัก แต่สามารถป้องกันการเกิด Dengue hemorrhagic fever (WHO criteria 1997) ได้ 80% (95% CI 52.7-92.4) และ 95% (95% CI 64.9- 99.9) ตามลำดับ พบว่าคนที่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีมาก่อนรับวัคซีน (seropositive at baseline) ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงกว่ากลุ่มที่ ไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน (CYD14 74.3% VS. 35.5%; CYD15 83.7% VS. 43.2%) และป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากการติดเชื้อเดงกีได้ 67.2% (CI 50.3%-78.6%) และ 80.3% (95% CI 64.7-89.5%) ตามลำดับ


ASEAN Dengue Vaccination Advocacy Group (ADVA) จัดตั้งขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อ

  1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการค้นหาผู้ป่วยและการวินิจฉัยโรคติดเชื้อเดงกีที่มีประสิทธิภาพ
  2. พิจารณากลุ่มคนที่ควรได้รับวัคซีนเดงกี
  3. ดูความเป็นไปได้ของโปรแกรมและการบริหารจัดการความเสี่ยง
  4. มีการสื่อสารระหว่าง stakeholders และ
  5. ร่วมมือกับ dengue initiative อื่นๆ โดยการประชุมทั้ง 3ครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011-2014 มีเอกสารการออกคำแนะนำวิธีการรายงานผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มีมาตรฐาน ความร่วมมือและแบ่งปันข้อมูลในเครือข่าย และการใช้ข้อมูลจาก mathematical modeling มาช่วยในการเลือกใช้มาตรการในการควบคุมเชื้อไวรัสเดงกี

w2.jpg
Prof. Tikki Pangestu กล่าวว่า

การแพร่ระบาดของไวรัสเดงกีไปทั่วโลก เกิดเนื่องจากมีการเดินทางท่องเที่ยว การย้ายถิ่นฐานเพื่อทำงานและการติดต่อค้าขายเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตของเมือง ภาวะโลกร้อน ความยากลำบากในการควบคุมยุงพาหะ และการประมาณการภาระโรคจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่ต่ำกว่าความเป็นจริงการนำเดงกีวัคซีนมาใช้น่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมโรคได้ โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิผล (cost effectiveness) ของวัคซีนซึ่งจากการศึกษา mathematical model พบว่าวัคซีนเดงกี CYDtetravalent dengue vaccine (TDV) ของ Sanofi Pasteur มีประโยชน์และคุ้มค่า นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง ราคา ความคงตัว และความสะดวกของการบริหารวัคซีน และสุดท้ายต้องมีความเข้าใจด้านการเมืองและสังคม เพื่อผลักดันให้มีการนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันโรคนี้ 

ไฟล์แนบบทความ
 Download [146 kb]