การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจากทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนครั้งที่ ๑๐ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๓ ได้มีมติกำหนดให้วันที่ ๑๕ มิถุนายนของทุกๆปี เป็นวัน “ASEAN Dengue Day” เพื่อกระตุ้นเตือนทุกฝ่ายให้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมกันควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งครึ่งหนึ่งของประชากรโลกมีความเสี่ยงต่อโรค โดยทวีปเอเซียมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง ๗๐% ของผู้ป่วยก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยและสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเซีย ตระหนักดีถึงความสำคัญในการผลักดันการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้เห็นเป็นรูปธรรมตามนโยบายขององค์การอนามัยโลกที่ได้ตั้งเป้าหมายในอันที่จะลดอัตราตายของโรคลง ๕๐% และลดอัตราป่วยของโรคลง ๒๕% ภายในปีค.ศ. ๒๐๒๐ ด้วย 5 technical elements ดังต่อไปนี้1
รศ.(พิเศษ)นพ. ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ศ.นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ
ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย ได้ร่วมกันให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนในโอกาส ASEAN Dengue Day พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในภูมิภาคอาเซียน
การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกนับเป็นความท้าทายที่ต้องร่วมกันผนึกกำลังในอันที่จะผลักดันให้การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเห็นผลเป็นรูปธรรมตามนโยบายขององค์การอนามัยโลกที่ได้ตั้งเป้าหมายในอันที่จะลดอัตราตายของโรคลง ๕๐% และลดอัตราป่วยของโรคลง ๒๕% ภายในปีค.ศ. ๒๐๒๐ ดังที่ประเทศไทยเคยประสบความสำเร็จในการลดการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกเป็นประเทศแรกในเอเซียมาแล้วด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนของประเทศ2
เอกสารอ้างอิง
1. World Health Organization (WHO). Global strategy for dengue prevention and control 2012-2020. Available from www.who.int
2. Thisyakorn U. Elimination of mother-to-child transmission of HIV: lessons learned from success in Thailand. Pediatrics and International Child Health 2017; 37: 99-108 DOI: 10.1080/20469047. 2017.1281873