โรคหัด (Measles)


พญ.พักต์เพ็ญ สิริคุตต์

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี



ในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการระบาดของโรคหัดที่จังหวัดโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนคือ ช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงเมษายน .. 2561 มีผู้ติดเชื้อเกิดขึ้นใหม่ถึง 70 ราย


สาเหตุการระบาดนั้นเกิดจากนักท่องเที่ยวชายชาวไต้หวัน อายุ 30 ปี ที่ได้รับการยืนยันการวินิจฉัยโรคหัดเข้ามาแพร่เชื้อในพื้นที่ดังกล่าว1,2


หลังจากการสืบสวนโรค ผู้ป่วยรายนี้ได้รับเชื้อหัดขณะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงวันที่ 1 ถึง 4 มีนาคม .. 2561 และเริ่มมีอาการป่วยในวันที่ 14 มีนาคม .. 2561 ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม .. 2561 ผู้ป่วยเดินทางต่อมายังจังหวัดโอกินาว่า และแพร่กระจายเชื้อหัดในพื้นที่ดังกล่าวเป็นบริเวณกว้าง สุดท้ายในวันที่ 26 มีนาคม .. 2561 ผู้ป่วยก็ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา และแพร่กระจายเชื้อต่อให้คนที่อยู่ในเที่ยวบิน หรือที่ทำงานเดียวกัน1,2


โดยสรุปเหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดแพร่กระจายเชื้อหัดสู่กลุ่มคนทั้งหมด 3 จังหวัด 2 ประเทศ คือ ประเทศไต้หวันทั้งหมด 12 ราย จังหวัดโอกินาว่า 70 ราย จังหวัดไอชิ ประเทศญี่ปุ่น 1 ราย (ข้อมูล วันที่ 21 เมษายน .. 2561)


การระบาดครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งของโรคหัดที่สำคัญ และโรคหัดยังคงเป็นโรคที่ควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอในประเทศไทย



ระบาดวิทยาในประเทศไทย3,4


จากข้อมูลในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ปี .. 2529 - 2560 ประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคหัดสูงมากในช่วงก่อนปี .. 2538 โดยมีอัตราการเกิดโรคสูงที่สุดในปี .. 2530 คือสูงถึง 78.7 รายต่อแสนประชากร รองลงมาคือปี . 2531 และปี .. 2537 ที่พบอัตราการเกิดโรค 66.2 และ 65.4 รายต่อแสนประชากร ตามลำดับ ถึงแม้ว่าในปี .. 2527 ประเทศไทยจะเริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 1 เข็มให้แก่เด็กอายุ 9 ถึง 12 เดือน แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมอัตราการป่วยเป็นโรคหัดในช่วงเวลาดังกล่าวได้ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุเกิดจากในช่วงแรกยังมีความครอบคลุมของวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ โดยในปี .. 2527 หรือปีแรกที่มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด มีอัตราการฉีดวัคซีนเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น


หลังจากนั้นประเทศไทยก็มีอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดดีขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในปี .. 2539 มีความครอบคลุมของวัคซีนทั่วประเทศสูงถึงร้อยละ 92  และร่วมกับในช่วงปีดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเพิ่มเป็น 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ฉีดที่อายุในช่วงเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลทำให้หลังปี .. 2540 อัตราการเกิดโรคหัดลดลงอย่างมาก เหลือเพียง 1.41 ถึง 16.49 รายต่อแสนประชากร (รูปที่ 1)

Picture1.png

รูปที่แสดงอัตราการเกิดโรคหัด (เส้นสีน้ำเงิน) ร้อยละความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคหัด (เส้นสีแดง) ตั้งแต่ปี.. 2529 ถึง .. 2560 และปี .. ที่เริ่มการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด (measles containing vaccine, MCV) ทั่วประเทศไทย


ถึงแม้ว่าปัจจุบันอัตราการเกิดโรคหัดมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับในช่วงปี .. 2529 – 2540 แต่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการเกิดโรคหัดสูงขึ้นดังจะเห็นได้จากข้อมูลในปี .. 2557 เทียบกับปี .. 2560  พบว่า มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นถึงเกือบ 4 เท่า คือ จาก 1.16 รายต่อแสนประชากร ในปี .. 2557 เพิ่มเป็น 4.51 รายต่อแสนประชากรในปี .. 2560 (รูปที่ 2)

Picture2.png

รูปที่ 2 แสดงอัตราการเกิดโรคหัดตั้งแต่ปี .. 2551 - 2560




เมื่อพิจารณาจากข้อมูลตามช่วงอายุ ในปี .. 2560 พบว่า ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 0 - 6 ปี รองลงมา คือ 15 - 24 ปี และ 25 - 34 ปี ตามลำดับ จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง คือปี .. 2558 - 2560 ก็พบว่ามีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน (รูปที่ 3)

Picture3.png

รูปที่ 3 แสดงร้อยละการเกิดโรคหัดจำแนกตามอายุ ตั้งแต่ปี .. 2558 - 2560สำหรับอัตราการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัด จากข้อมูลตั้งแต่ปี .. 2529 เป็นต้นมา พบอัตราการเสียชีวิตต่ำมาก คือ ร้อยละ 0 - 0.14 รายต่อแสนประชาการ แต่โรคนี้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ จากข้อมูลในปี .. 2542 - 2552 พบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหัดสูงถึงร้อยละ 3.5 - 14.1



ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของโรคหัด


ถึงแม้ในปัจจุบันอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด มีความครอบคลุมทั่วประเทศได้ถึงร้อยละ 99 แต่จากข้อมูลในช่วง 4 ปีที่ผ่านกลับมีแนวโน้มของอัตราการเกิดโรคสูงขึ้น ปัจจัยใดที่มีผลต่ออัตราการเกิดโรคหัดที่สูงขึ้น สามารถพิจารณาได้จากช่วงอายุที่พบอัตราการเกิดโรคสูง ดังต่อไปนี้



1. ช่วงอายุ 0 - 6 ปี เป็นช่วงอายุที่มีอัตราการป่วยเป็นโรคหัดสูงที่สุด ในช่วงอายุนี้ อายุที่พบสูงที่สุด คือ 1 - 3 ปี รองลงมาคือ น้อยกว่า 1 ปี


ปัจจัยที่ทำให้มีอัตราป่วยสูงในช่วงอายุ 1 - 3 ปี อาจมีสาเหตุจาก primary vaccine failure ซึ่งเป็นผลมาจากแอนติบอดีต่อโรคหัดที่ไดัรับจากมารดามีผลกระทบต่อวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ฉีดให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า1 ปี ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากในประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนเข็มแรกที่อายุ 9 ถึง 12 เดือน


จากการศึกษาในทวีปยุโรปและอเมริกา ที่ทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในเด็กหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเข็มแรก จำนวน 5,542 รายที่อายุต่างๆ พบว่า ในเด็กที่ฉีดวัคซีนที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำไม่สามารถป้องกันโรคได้ (seronegative) มากกว่าเด็กที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกที่อายุมากกว่า 12 เดือน โดยในเด็กที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกที่อายุ 11, 12, 13 - 14 และ 15 - 22 เดือน มี seronegative อยู่ที่ร้อยละ 8.5, 3.2, 2.4 และ 1.5 ตามลำดับ และในเด็กที่ฉีดวัคซีนที่อายุมากกว่า 12 เดือน มีระดับภูมิคุ้มกัน หรือ geometric mean titers (GMT) สูงกว่าเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ5


ส่วนในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่วงอายุที่มีอัตราการเกิดโรคหัดสูง โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 9 เดือน6 ปัจจัยที่ทำให้มีอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงอายุนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก primary vaccine failure ดังกล่าวข้างต้น แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญคือ ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาไม่สูงเพียงพอที่จะป้องกันโรคหัดให้แก่เด็กก่อนวัยฉีดวัคซีนได้


จากการศึกษาในประเทศไทยที่ทำการศึกษาระดับของภูมิคุ้มกันโรคหัดของมารดาที่ถ่ายทอดสู่เด็กอายุ 0 ถึง 9 เดือน ทั้งหมด 1,010 ราย พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันของมารดาที่ถ่ายทอดสู่เด็กหมดไปอย่างรวดเร็ว โดยในเด็กที่อายุ 4 เดือนจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาที่สูงพอที่จะป้องกันโรคหัดได้มีเพียงร้อยละ 35.9 และในเด็กที่อายุ 6 เดือนจะมีภูมิคุ้มกันที่สูงเพียงพอแค่ร้อยละ 3.3 เท่านั้น7


ปัจจัยที่ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันโรคหัดที่ได้รับจากมารดาหมดไปอย่างรวดเร็วจากตัวเด็ก เกิดจากมารดาที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคตามธรรมชาติ และมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน ซึ่งโดยปกติระดับภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะต่ำกว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ทำให้มารดาที่เคยได้รับวัคซีนป้องกัน และไม่เคยติดเชื้อตามธรรมชาติจะถ่ายทอดภูมิคุ้มกันสู่ลูกในระดับที่ต่ำกว่า และหมดไปจากตัวเด็กได้เร็วกว่ามารดาที่มีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากการศึกษาในประเทศเบลเยี่ยม ที่ทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันโรคหัดที่ได้รับการถ่ายทอดจากมารดาในเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน พบว่า ในมารดาที่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดจากการฉีดวัคซีน และไม่เคยเป็นโรคหัดมาก่อน จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมายังเด็กต่ำกว่ามารดาที่เคยติดเชื้อหัดตามธรรมชาติ นอกจากนี้ในเด็กที่คลอดจากมารดาที่ได้รับวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาหมดไปเมื่อเด็กอายุเกิน 1 เดือน ซึ่งเร็วกว่าเด็กที่คลอดจากมารดาที่เคยเป็นโรคหัดตามธรรมชาติ ซึ่งภูมิคุ้มกันจะหมดไปเมื่อเด็กอายุเกิน 3 เดือน8


การที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้เลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเข็มที่สอง จากอายุช่วงประถมศึกษาปีที่ 1 มาฉีดที่อายุ 2 ปีครึ่งแทน ในปี .. 2557 นั้น เพื่อเร่งระดับภูมิคุ้มกันป้องกันโรคหัดในเด็กอายุ 2 ปีครึ่ง ให้มีระดับสูงพอที่จะป้องกันโรคได้ และจะสามารถแก้ไข primary vaccine failure ที่เกิดขึ้นได้


2. ช่วงอายุ 15 - 24 ปี และช่วงอายุ 25 - 34 ปี เป็นอีกหนึ่งช่วงอายุที่มีอัตราการเกิดโรคสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดโรคในช่วงอายุนี้ อาจมีความเกี่ยวข้องกับภาวะ secondary vaccine failure หรือ เมื่อระยะเวลาผ่านไประดับภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนก็จะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการศึกษา ดังตารางที่ 1


ตารางที่ 1 ร้อยละของผู้ที่มีระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันโรคหัดได้ (seroprotective) และระดับของภูมิคุ้มกันโรคหัด

Picture4.png

จากการศึกษาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ระดับของภูมิคุ้มกันโรคหัดจะสูงขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 10 ปี ระดับภูมิคุ้มกันโรคก็จะลดลง จึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคหัดเพิ่มขึ้นในช่วงอายุ 15 – 34 ปี ดังนั้นมีจึงความจำเป็นหรือไม่สำหรับการให้วัคซีนป้องกันโรคหัดเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในช่วงอายุดังกล่าว


เอกสารอ้างอิง

1. Centre for health protection. Alert on measles cases in Okinawa, Japan and Taiwan. [cited 2018 May 29]. Available from: https://www.chp.gov.hk/files/pdf/letters_to_doctors_20180423.pdf.

2. Centers for disease control, R.O.C.(Taiwan). Taiwan CDC advises public to determine need for measles vaccination and get vaccinated prior to traveling overseas as this year’s first imported measles case confirmed.[cited 2018 May 29]. Available from: http://www.cdc.gov.tw/english/info.aspx?treeid=BC2D4E89B154059B&nowtreeid=EE0A2987CFBA3222&tid=0E8B646FA6018F3A.

3. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์รายปี.[เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=87.

4. WHO. WHO vaccine-preventable diseases: monitoring system. 2017 global summary.[cited 2018 May 29]. Available from: http://apps.who.int/immunization_monitoring/globalsummary/coverages?c=THA.

5. Carazo Perez S, De Serres G, Bureau A, et al. Reduced antibody response to infant measles vaccination: effects based on type and timing of the first vaccine dose persist after the second dose. Clin Infect Dis. 2017;65 (7):1094-102.

6. Ariyasriwatana C, Kalayanarooj S. Severity of measles: a study at the Queen Sirikit National Institute of Child Health. J Med Assoc Thai. 2004 ;87(6):581-8.

7. Techasena W, Sriprasert P, Pattamadilok S, et al. Measles antibody in mothers and infants 0-2 years and response to measles vaccine at the age of 9 and 18 months. J Med Assoc Thai. 2007;90(1):106-12.

8. Leuridan E1, Hens N, Hutse V, et al. Early waning of maternal measles antibodies in era of measles elimination: longitudinal study. BMJ. 2010 May 18;340:c1626.

9. Tharmaphornpilas P, Yoocharean P, Rasdjarmrearnsook AO, et al. Seroprevalence of antibodies to measles, mumps, and rubella among Thai population: evaluation of measles/MMR immunization programme. J Health Popul Nutr. 2009 Feb;27(1):80-6.

10. Chen CJ, Lee PI, Hsieh YC, Chen PY, et al. Waning population immunity to measles in Taiwan. Vaccine. 2012 Oct 19;30(47):6721-7. 

11. Kang HJ, Han YW1, Kim SJ, et al. An increasing, potentially measles-susceptible population over time after vaccination in Korea. Vaccine. 2017 Jul 24;35(33):4126-32.