จุลสารสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย | ตุลาคม 2563




นายกสมาคมฯ เปิดใจแถลง

โดย รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 

Screen_Shot_2562_02_03_at_22.27.24.png


จากการระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด -19 ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการวางแผนดูแลรักษา ป้องกันในสถานพยาบาลตัวเอง จังหวัด ตัวเองรวมทั้งในระดับประเทศด้วย ผมทราบมาว่า หลายท่านเหนื่อยมากในการบริหารจัดการให้สู่ความสําเร็จครั้งยิ่งใหญ่น้ี จนกระทั่งสถานการณ์โรคโควิด -19 ในประเทศไทยอยู่ในอัตราการระบาดที่ต่ำมากและเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่วโลกว่าสามารถดําเนินงานการควบคุมโรคได้ดียิ่งซึ่งเป็นผลสำเร็จของทุกภาคส่วน ไม่ใช่ของทางการแพทย์ และสาธารณสุขกลุ่มเดียว ยังมีฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง รัฐบาลและ ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ร่วมมือร่วมใจอย่างดียิ่ง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังคงต้องติดตามและดําาเนินงานอย่างใกล้ชิด ไม่ประมาท บุคคลากรทุกท่านประชาชนทั่วไปอย่าการ์ดตก ประเทศไทยเราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยมาตรการทางการแพทย์ที่เข้มงวดอย่างเดียว เศรษฐกิจระดับประชาชนทั่วไปเป็นสิ่งที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง จะทําการล็อคดาวน์เหมือนเดือนมีนาคม- เมษายน2563 คงไม่ได้แล้ว ดังนั้นในขณะที่โรคระบาดนี้ในบ้านเราสงบชั่วคราว จึงต้องเตรียมตัวให้รอบคอบมากขึ้นเพื่อรับมือกับการ ระบาดในระลอกที่ 2, 3... เหมือนอย่างในหลายๆ ประเทศ หลักการใหญ่ที่สําคัญที่สุดคือเราไม่สามารถควบคุมจนการระบาดของผู้ป่วยโควิด-19 เหลือผู้ป่วยจํานวนศูนย์ตลอดไป แต่เรามีเป้าหมายควบคุมให้มีผู้ป่วยโควิด-19 ในระดับที่เราสามารถรับมือทางการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิผล และชาวบ้านสามารถหาเลี้ยงชีพเพื่อปากท้องและดูแลครอบครัวได้ในระดับที่เหมาะสมพอสมควรตามอัตภาพ

ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่มีโควิด-19 ระบาดจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน จนขณะนี้มีการระบาดไปทั่วโลกแล้ว บางประเทศก็มีสถานการณ์ที่เลวร้ายมากข่้น เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย ฯลฯ การระบาดยังไม่มีแนวโน้มจะผ่อนเบาลงเลย โดยที่ยังระบาดกว้างขวางและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนทุกคน ทุกประเทศต่างฝากความหวังไว้ที่การพัฒนาวัคซีนต่อสู้กับโควิด-19 นี้อย่างมาก และตั้งความหวังไว้ว่าเมื่อมีวัคซีนแล้วทุกอย่างจะกลับไปสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนที่จะมีการระบาดของโรคน้ี ทางองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่าวัคซีนกว่าจะได้เพียงพอในการแจกจ่ายไปทั่วโลก น่าจะเป็นปี พ.ศ.2564-2565 ดังนั้นต่อให้มีวัคซีนในปลายปี พ.ศ.2563 นี้คนทั่วโลกยังต้องรอต่อไปก่อนจะได้ ใช้อีกอย่างน้อย 1-2 ปี ดังน้ันการปรับตัวเพื่ออยู่กับโควิด-19 จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเตรียมตัวเตรียมใจและดำเนินชีวิตประจําวัน ทําหน้าที่การงานให้เหมาะกับโรคระบาดนี้โดยไม่ประมาทต่อไปอีกหลายปี

ผมและเหล่าคณาจารย์ของสมาคมฯ ทุกท่าน ขอส่งความปรารถนาดี กําลังใจ มายังกุมารแพทย์ทุกท่านรวมท้ังผู้ร่วมงานใน สหวิชาชีพอื่นๆ เช่น พยาบาล ห้องLab เภสัชกร ทีม IC อสม.ฯลฯ ให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อต่อสู้กับภาวะวิกฤตทางการแพทย์ของประเทศที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ให้สําเร็จ ลุล่วงด้วยดีทุกประการ ขอให้ครอบครัวทุกท่านมีพลานามัยสมบูรณ์ และมีความสุขกันถ้วนหน้าทุกท่านครับ




ดาวน์โหลดจุลสาร - คลิกที่นี่